เทคนิคดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 9 เดือน

Last updated: 2 พ.ค. 2566  |  144 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ 9 เดือน

การฝากครรภ์สำคัญอย่างไร?

การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทำทันทีเมื่อพบว่าตนเองตั้งครรภ์ เนื่องจากการฝากครรภ์เป็นการเฝ้าระวังความสี่ยง คอยติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และยังเป็นการเฝ้าระวังติดตามอาการผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์

ปัจจุบัน คุณแม่มีการตั้งครรภ์ในอายุที่เพิ่มมากขึ้น หากคุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงค่อนข้างเยอะกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อย โดยภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก ได้แก่

·        ภาวะดาวน์ซินโดรม หากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จะทำให้ทารกมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะดาวน์ซินโดรมได้ง่าย โดยปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมได้โดย

1.   เจาะเลือดคุณแม่เพื่อตรวจคัดกรองหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์เพียงเจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร ก็สามารถตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของทารกได้ โดยสามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 12-14 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด มีหลากหลายการทดสอบ การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม โดยสามารถตรวจได้ในอายุครรภ์ 18 – 20 สัปดาห์ ซึ่งการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่ให้ความแม่นยำมากที่สุด 99% เช่นเดียวกับการตัดชิ้นเนื้อรก ซึ่งหากคุณแม่ที่ตรวจด้วยวิธีการตรวจเลือดแล้ว มีผลบวกหรือพบความผิดปกติของโครโมโซมทารก แพทย์จึงจะแนะนำให้ตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยัน

·        ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

·        ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือเรียกว่า “ครรภ์เป็นพิษ”

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง?

1.ตรวจร่างกายโดยแพทย์

2.วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก

3.ซักประวัติสูติกรรม โรคประจำตัว ประวัติครอบครัว

4.ภาวะเลือดจาง หาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน

5.ตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวี HIV

6.ตรวจเลือด หาเชื้อซิฟิลิส กรุ๊ปเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

7.ตรวจปัสสาวะเพื่อค้นหาความผิดปกติอื่นๆ

8.ตรวจปัสสาวะ อัลตราซาวนด์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์

9.จ่ายยาบำรุงครรภ์ และยาอื่นๆ ที่จำเป็น

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรทำ

เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม คุณแม่จำเป็นต้องได้รับปริมาณแคลอรี่และสารอาหารเพิ่มมากขึ้นจากเดิม สารอาหารที่ควรเน้น ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ เนื่องจากร่างกายจะต้องนำสารอาหารเหล่านี้ไปเลี้ยงลูกในครรภ์ หากคุณแม่ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้ลูกขาดสารอาหารตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและระดับสติปัญญาของทารกโดยตรง

เสริมวิตามินและแร่ธาตุตามคำแนะนำของแพทย์

กรดโฟ ลิก: ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของการสร้างตัวอ่อนในครรภ์และพัฒนาการทางสมอง ป้องกันโรคพิการแต่กำเนิด

ธาตุเหล็ก: ป้องกันภาวะโลหิตจางในคุณแม่ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้กับทารกในครรภ์ ลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและภาวะแท้งบุตร

ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

น้ำเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ยังต้องดูแลอีกหนึ่งชีวิตด้วย คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้ได้ 10-12 แก้วในแต่ละวันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลำเลียงสารอาหาร แร่ธาตุ รวมไปถึงออกซิเจนสู่ทารกในครรภ์ และช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะ ตะคริว
ออกกำลังกายอย่างพอดี
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่ได้มีความเสี่ยง อาทิ มีประวัติแท้งบุตร ครรภ์เป็นพิษ เป็นโรคหัวใจ ความดันสูง เบาหวาน ฯลฯ สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเมื่อมีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป การออกกำลังกายจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี และช่วยให้นอนหลับสบาย โดยควรเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิค โยคะ เป็นต้น เบื้องต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกายและภาวะเสี่ยงก่อนเริ่มออกกำลังกาย
 
พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของทารกในครรภ์ คุณแม่ควรนอนหลับให้เพียงพอหรืออย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงในแต่ละคืน และไม่ควรเข้านอนเกิน 4 ทุ่ม โดยการนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี จิตใจแจ่มใส แต่หากนอนน้อยจะส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้องและลูกในท้อง มีโอกาสที่เด็กในครรภ์จะตัวเล็กได้
หมั่นกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์เพื่อให้ลูกน้อยมีความฉลาด อารมณ์ดี ไหวพริบดี และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสท้องหรือลูบหน้าท้องเบา ๆ เล่านิทาน พูดคุย ร้องเพลง ฟังเพลง ดมกลิ่นหอม ๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์เหล่านี้เองจะส่งผลต่อความฉลาด อารมณ์ และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
ทำอารมณ์ให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด
ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ทำให้ลูกในครรภ์รับรู้อารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้เด็กเลี้ยงยากและมีภาวะซึมเศร้าได้ หากคุณแม่รู้สึกว่าตนเองเริ่มเครียดก็ควรหาวิธีจัดการกับความเครียดดังกล่าว และปรับอารมณ์ให้แจ่มใส
ใส่ใจเรื่องสุขลักษณะ
ในระหว่างการตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะทำงานได้จำกัด จึงอาจเกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย คุณแม่จึงควรใส่ใจวิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์มากเป็นพิเศษตั้งแต่การหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนควรดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดีเพื่อความปลอดภัยของทั้งทารกและคุณแม่เอง อาทิ หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ของใช้ และเครื่องนอนให้สะอาดอยู่เสมอ

อ้างอิง: 
 https://www.punnita.com/blog/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้