คุณแม่รู้ยังสิทธิประกันสังคมควรรู้...มีอะไรบ้าง

Last updated: 29 เม.ย 2566  |  161 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คุณแม่รู้ยังสิทธิประกันสังคมควรรู้...มีอะไรบ้าง

     การตัดสินใจมีบุตรสักคน เป็นเรื่องสำคัญของครอบครัว เพราะนอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว ค่าใช้จ่ายก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตร เริ่มตั้งแต่การฝากครรภ์ การคลอดบุตร การเลี้ยงดูบุตร ซึ่งมักจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และอยู่ในระบบประกันสังคม อาจจะสามารถแบ่งเบาค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยการใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้ กระปุกดอทคอม


สิทธิค่าตรวจและการฝากครรภ์



          ประกันสังคมได้มีการเพิ่มประโยชน์ทดแทนค่าตรวจครรภ์และฝากครรภ์ให้แก่ผู้ประกันตนอีก 1,000 บาท โดยแนวทางการขอรับประโยชน์ทดแทน จะต้องมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ

 

          เช่น ถ้าเริ่มตั้งครรภ์เดือนมีนาคม 2562 ประกันสังคมจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งภายในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และจะต้องมีหลักฐานการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ สิทธิการตรวจและการฝากครรภ์ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 โดยประกันสังคมจะจ่ายผลประโยชน์ทดแทนให้ตามอายุครรภ์

 - อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500 บาท
          - อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 300 บาท
          - อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ ประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง แต่ไม่เกิน 200 บาท

          ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ ไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร หรือจะยื่นขอรับพร้อมกับการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรก็ได้ กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง

สิทธิค่าคลอดบุตร

          สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรแต่ละครั้ง จากเดิมไม่เกิน 2 ครั้ง มาเป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้เมื่อมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร โดยนำสูติบัตรมาประกอบการยื่นเรื่องเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น


สิทธิการลาคลอด



          คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถลาคลอดได้ 90 วัน และจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง ในอัตราครั้งละร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ฐานเงินค่าจ้างสูงสุดที่นำส่งประกันสังคมอยู่ที่ 15,000 บาท) เป็นเวลา 90 วัน

 

สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

          ประกันสังคมได้เพิ่มประโยชน์การรับเงินสงเคราะห์บุตรให้คุณพ่อหรือคุณแม่ผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นจากเดือนละ 400 บาท ต่อบุตร 1 คน เป็นเดือนละ 600 บาท ต่อบุตร 1 คน และเบิกได้ไม่เกิน 3 คน โดยให้มีผลย้อนหลังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เมื่อมีการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน



          ในการรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย มีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่รวมบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น) แม้ว่าคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ใช้สิทธิเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตก่อนลูกมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ประกันสังคมก็ยังจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรจนบุตรมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยจ่ายให้กับผู้อุปการะบุตร ซึ่งผู้อุปการะสามารถยื่นคำขอเพื่อรับสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่

 อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและสิทธิลดหย่อนภาษีได้ แต่การมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาในครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรในการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโต ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการวางแผนทางการเงิน

 

สิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตร

·        การจะใช้สิทธินี้จะต้องจ่ายเงินประกันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือนขึ้นไป หรือภายใน 15 เดือนก่อนคลอด โดยเงินที่ได้รับจะเป็นแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท

·        สามารถรับเงินกรณีหยุดงาน โดยจะคิดเป็น 50 % ของค่าจ้าง ในช่วงระยะเวลา 90 วัน

·        กรณีทั้งคุณพ่อ และคุณแม่เป็นผู้ประกันตน จะใช้สิทธิได้แค่ 1 คนเท่านั้น แต่ไม่จำกัดจำนวนของบุตร และจำนวนครั้งในการใช้ในครรภ์ต่อ ๆ ไป

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเงินคลอดบุตร

·        แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 กรอกข้อมูลครบถ้วน

·        สำเนาสูติบัตรของบุตร 1 ชุด หากเป็นลูกแฝดให้แนบมาทั้งหมด

·        สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ ถ่ายหน้าแรกมีเซ็นรับรอง ธนาคารที่ใช้ได้ คือ ธนาคารกสิกรไทย,  ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

·        ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมได้ตามจุดที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุข

·        หากเป็นคุณพ่อขอใช้สิทธิ ต้องแสดงทะเบียนสมรส หากไม่มีให้ใช้ใบรับรองผู้ประกันตนแทน

 

โดยการรับเงินจะเป็นการรับโอน หรือรับเป็นเงินสดให้ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน หากผู้ที่มายื่นเอกสารเป็นตัวแทน จะได้รับเป็นเช็ค ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่แจ้งคำสั่ง หากไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นสงเคราะห์บุตร

·        แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

·        กรณีคุณแม่เคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และต้องการใช้สิทธิให้บุตรคนเดิม ต้องใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม 1 ฉบับ

·        สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด กรณีคุณพ่อขอใช้สิทธิ ใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา คำสั่งศาลด้วยกฎหมาย พร้อมกับสำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด

·        หากมีการเปลี่ยนชื่อ ให้แนบเอกสารเปลี่ยนชื่อ 1 ชุด

·        สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ ถ่ายหน้าแรกมีเซ็นรับรอง ธนาคารที่ใช้ได้ คือ ธนาคารกสิกรไทย,  ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย      

·        เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน ทุกฉบับเซ็นรับรองความถูกต้อง และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ  กรณีที่พิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลภาษาไทย และรับรองความถูกต้องด้วย

สิทธิลาคลอด

วันลาคลอด และวันลาตรวจก่อนคลอดรวมแล้ว จะได้วันลาทั้งหมด 98 วัน โดยวันลาคลอดจะมี 90 วัน และวันลาก่อนคลอด 8 วัน โดยประกันจะจ่ายค่าจ้าง 45 วัน และนายจ้างจะจ่ายค่าจ้าง 45 วัน ส่วนในวันลาก่อนคลอด 8 วัน ไม่ได้มีการระบุไว้ว่าใครต้องจ่าย จึงเป็นวันที่คุณแม่อาจไม่ได้รับค่าจ้าง แต่สิทธิในการลาคลอดนี้ อาจมีข้อจำกัด หรือข้อตกลงที่แตกต่างกันไป ซึ่งคุณแม่จะต้องศึกษาในสัญญาของแต่ละบริษัทด้วย



เงื่อนไขการใช้สิทธิลาคลอดของผู้ประกันตน

·        จ่ายประกันอย่างน้อย 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร

·        สิทธิลาคลอดใช้ได้เฉพาะคุณแม่เท่านั้น คุณพ่อไม่สามารถใช้ได้

·        ยอดการจ่ายรอบละ 15,000 บาท ถึงเงินเดือนจะมากกว่าจะได้รับแค่ 15,000 บาท

·        สามารถรับค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้งการมีบุตร

·        หากลา 90 วันแล้วกลับมาทำงานตามปกติ จะยังได้รับเงินลาคลอดอยู่

 

สิทธิฝากครรภ์ของผู้ประกันตน

คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม มีประกาศเรื่องฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท แบ่งจ่ายตามอายุครรภ์ ดังนี้

·        ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราจริงไม่เกิน 500 บาท

·        มากกว่า 12 สัปดาห์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราจริงไม่เกิน 300 บาท

·        มากกว่า 20 สัปดาห์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราจริงไม่เกิน 300 บาท

·        เกิน  28 สัปดาห์ ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราจริงไม่เกิน 200 บาท

·        เกิน 32 – 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราจริงไม่เกิน 200 บาท

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกฝากครรภ์

·        แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม สปส. 2-01

·        ใบเสร็จจากสถานพยาบาลที่คุณแม่ทำการฝากครรภ์

·        สมุดบันทึกแม่ และเด็ก หรือใบรับรองแพทย์ ของช่วงอายุครรภ์

·        หากคุณพ่อมาเบิกเงินแทนคุณแม่ ต้องมีหลักฐานการสมรสมาด้วย

         หากเป็นค่าใช้จ่ายระยะสั้นเมื่อเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งทำคลอด และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรช่วงแรกเกิดถึงอายุ 2 ขวบ แนะนำคุณพ่อคุณแม่วางแผนเก็บสะสมในรูปกองทุนตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ แต่หากเป็นการวางแผนการศึกษา ซึ่งเป็นการวางแผนทางการเงินระยะยาว มีวิธีการลงทุนหรือออมหลากหลายที่จะช่วยสร้างความมั่นคงด้านชีวิตและทางการเงินไปพร้อมกัน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมผสม หรือการทำประกันชีวิตแบบจ่ายแล้วได้รับเงินคืนระหว่างสัญญา ครบกำหนดรับเงินคืนเป็นก้อนไว้สำหรับเป็นเงินทุนสนับสนุนการศึกษาของลูกในอนาคต เป็นต้น

อ้างอิง: อัปเดต สิทธิประกันสังคมแม่ท้อง ปี 2566 สิทธิที่แม่ต้องรู้ ! (mamastory.net)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้