ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อน....ป้องกันได้

Last updated: 27 มิ.ย. 2566  |  398 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อน....ป้องกันได้

ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อน....ป้องกันได้

อาการแสดงดาวน์ซินโดรม

      เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะมีลักษณะภายนอกและพัฒนาการที่แตกต่างจากเด็กปกติ มีโครงสร้างทางใบหน้าที่โดดเด่นชัดเจน อย่างคล้ายคลึงกัน และมักมีอาการแสดงต่างๆ ดังนี้
  •  ศรีษะ ใบหน้า และหู เล็กกว่าเด็กทั่วไป
  • ตาเรียว หางตาเฉียงขึ้น
  • ลิ้นมักจุกอยู่ที่ปาก พูดช้า พูดไม่ชัด
  • ตัวเล็ก และเตี้ยวกว่าคนปกติทั่วไป
  • ตัวค่อยข้างนิ่ม หรืออ่อนปวกเปียก
  • นิสัยร่าเริ่ง ยิ้มง่าย ใจดี

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม

     ปัจจัยเสี่ยงของการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมีเท่ากันทุกคน แต่อัตราความเสี่ยงจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ

  •    หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่มีอายุเกิน 35 ปี
  •    คุณพ่อคุณแม่เด็กมีพาหะของดาวน์ซินโดรมหรือไม่?
  •    มีประวัติลูกคนแรกเป็นดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงที่ลูกคนถัดมาจะเป็นดาวน์ซินโดรมก็มีสูงเช่นกัน

การตรวจสอบหาความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้น สามารถทำ 3 วิธี
     การเจาะน้ำคร่ำ คือการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม
     การตรวจเลือดคุณแม่ด้วยสารเคมี แม้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดดาวน์ซินโดรมจากคุณแม่วัย 35 ปีขึ้นไปจะมีมากกว่า แต่แน่นอนว่าในวัยอื่น ๆ ที่น้อยลงมาก็สามารถเกิดได้เช่นกัน ดังนั้น วิธีการนี้จะเป็นการตรวจเลือกคุณแม่ใน 2 ช่วงอายุครรภ์ คือ ช่วง 12-14 สัปดาห์ และช่วง 17-20 สัปดาห์ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อสืบหาความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใด
     การตรวจเลือดคุณแม่ด้วยเทคโนโลยี NIPT เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด มีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังให้ผลถูกต้องใกล้เคียงกับการเจาะน้ำคร่ำ และทราบผลตรวจอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 สัปดาห์


อ้างอิง : https://www.sikarin.com/health/20595

อ้างอิง :https://theworldmedicalcenter.com/th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้