ภาวะโคลิค
โคลิค คือ ภาวะที่ทารกมีอาการร้องไห้อย่างรุนแรงมากกว่าปกติ ทารกอาจมีการร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และอาจมีอาการยาวนานเกิน 1 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยที่อาการดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในเวลาเดิมซ้ำๆ ของในแต่ละวัน
โดยภาวะนี้จะเป็นภาวะที่เกิดในทารกที่สุขภาพดี และมีอายุ 1 เดือน จนถึง 4 เดือน ปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะโคลิค แต่มีปัจจัยบางอย่างที่จะทำให้ภาวะโคลิคมีอาการที่รุนแรง และร้องได้นานมากขึ้น เช่น ปัจจัยเกี่ยวกับแก๊สที่อยู่ในลำไส้ของทารกที่มีมากเกินไป ปัจจัยการย่อยนมไม่สมบูรณ์ การเปลี่ยนของจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นต้น
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะของโรคโคลิค แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงได้ เช่น การให้นมในปริมาณที่พอเหมาะ การอุ้มเรอที่ถูกต้อง จะช่วยทำให้อาการโคลิคลดลงได้ ส่วนการให้ยาในปัจุบัน จะช่วยทำให้อาการทุเลาลงได้เล็กน้อย เป็นต้น
ภาวะโคลิคเป็นเพียงภาวการณ์ปรับตัวของลูกเท่านั้น เด็กไม่ได้ร้องไห้เพราะความเจ็บปวดแต่อย่างเด็ก ซึ่งโดยปกติแล้วภาวะโคลิกในเด็กทารก เป็นภาวะที่สามารถหายได้เอง เมื่ออายุประมาณ 3 – 4 เดือน การร้องไห้จะค่อยๆ ลงลด แล้วปัญหาโคลิคก็จะลดลงตามลำดับ
สาเหตุของโคลิค (Colic)
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้เกิดโคลิค แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะลูกน้อยเกิดความไม่สบายตัว อาทิ
เด็กร้องบ่อยและนานมากปกติหรือไม่ ?
ที่ลูกน้อยของคุณร้องบ่อยและนานมาก บางครั้งร้องจนเสียงแหบ แม้ว่าจะดูเหมือนไม่ปกติ เหมือนลูกน้อยต้องการบอกอะไรกับพ่อแม่บางอย่าง นั่นคือความจริงเพราะลูกของคุณกำลังต้องการบางอย่างจากคุณ เพียงแต่แค่สื่อสารออกมาเป็นคำพูดไม่ได้เท่านั้นเอง การที่เด็กร้องบ่อย นาน และเป็นเวลาถือว่าเป็นเรื่องปกติ เราอาจจะเรียกว่าเด็กเป็นโคลิคก็ได้สามารถพบได้ในเด็กทั่วๆ ไปตั้งแต่ 3 สัปดาห์เป็นต้นไป
รักษาโคลิคอย่างไร
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะโคลิก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีความพยายามลดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโคลิกซึ่งทำให้เด็กหลายรายมีอาการดีขึ้น ได้แก่ ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิกเป็นอาการที่เกิดชั่วคราว และจะหายได้เอง ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม ต้องยกขวดให้สูงจนนมหรือน้ำเต็มบริเวณจุกขวดไม่มีอากาศแทรก หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้นั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น Simethicone (ยาลดแก็สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด) เป็นยาที่ใช้กันเป็นสามัญทั่วไป
อ้างอิง : https://www.sikarin.com/
อ้างอิง : https://www.paolohospital.com/
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567