ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร ? พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

Last updated: 13 ก.ค. 2566  |  2257 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร ? พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร ? พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

โรคพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี (G6PD deficiency)

     คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากภาวะขาดเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์นี้จึงมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แตกง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหารบางชนิด ยาบางชนิด ภาวะติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา

 
สาเหตุของโรคพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี (G6PD deficiency)
     โรคนี้เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง โดยมีการถ่ายทอดแบบยีนด้อยของโครโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive) จากมารดาสู่ทารก ทำให้ลูกชายมีโอกาสที่จะมีภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีร้อยละ 50 ส่วนลูกสาวมีโอกาสที่จะเป็นพาหะของโรคนี้ร้อยละ 50

อาการของโรคพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี
     เมื่อผู้ที่มีภาวะนี้ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง จะมีอาการต่างๆ ดังนี้
  • ซีด
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้อาจเกิดภาวะตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด
  • ปัสสาวะมีสีเข้มคล้ายน้ำโคล่าหรือน้ำปลา
  • ตับหรือม้ามโต
  • ปวดหัวบ่อยๆ


ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
     อาหารบางชนิด เช่น พืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วปากอ้า บลูเบอรี่ ไวน์แดง สารเคมี เช่น ลูกเหม็น การบูร เมนทอล สารหนู ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะในกลุ่มซัลฟา ควิโนโลน แอสไพริน ยารักษามาลาเรีย ยากันชัก ยารักษาโรคหัวใจบางชนิด การติดเชื้อต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไข้เลือดออก ไข้หวัด

การรักษา
        การรักษาผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หากพบในทารกแรกเกิด จะพบว่ามีอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แพทย์จะรักษาด้วยการส่องไฟหรือการถ่ายเลือดหากอาการรุนแรง แต่หากตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จะได้รับบัตรประจำตัวว่าเป็นโรคพร่อง G6PD ซึ่งผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานบางอย่าง หลีกเลี่ยงการสูดดมลูกเหม็น การบูร หลีกเลี่ยงยาที่เป็นสาเหตุ และไม่ควรซื้อยา/อาหารเสริม หรือสมุนไพรรับประทานเอง รวมทั้งพบแพทย์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ปัสสาวะสีเข้มหรือสีดำเหมือนโค้ก หรือมีอาการสงสัยการติดเชื้อ ควรรีบมาพบแพทย์  

อ้างอิง : https://www.synphaet.co.th/
 อ้างอิง : https://sriphat.med.cmu.ac.th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้