มะเร็งเต้านมกับคุณแม่มือใหม่

Last updated: 2 ต.ค. 2566  |  167 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งเต้านมกับคุณแม่มือใหม่

มะเร็งเต้านมกับคุณแม่มือใหม่

     ประเภทของก้อนในเต้านมของคุณแม่ก้อนในเต้านมของคุณแม่ให้นมบุตร สามารถพบได้อยู่ 2 ประเภท ดังนี้
          1. ก้อนที่เกิดจากการให้นมบุตร เช่น ท่อน้ำนม ถุงน้ำนมอุดตัน

                   - เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้
                   - เต้านมอักเสบ
                   - เนื้องอกที่เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิง

          2. ก้อนที่ไม่ได้เกิดจากการให้นมบุตร เช่น ถุงน้ำ ก้อนไขมัน ก้อนเนื้อในเต้านม มะเร็งเต้านม

ซึ่งหากเป็นก้อนแบบที่สองนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

การรักษาก้อนในเต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
          สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น การผ่าตัดหรือการเอกซเรย์เป็นเรื่องยุ่งยากทั้งทางกายภาพและความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ จึงต้องใช้ความระวังในการตรวจ รักษา และการใช้ยา ทั้งเต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อเตรียมรับการให้นมบุตร ซึ่งจะมีเส้นเลือดและน้ำนมที่ผลิตขึ้นมากจำนวนมาก ผนวกกับการที่เต้านมขยายใหญ่ขึ้น การผ่าตัดก็จะเสี่ยงต่อการอักเสบมากกว่าปกติ ดังนั้นแพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 3 เดือน เพื่อประเมินและวางแผนการรักษาอย่างรัดกุม

สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

            1. คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ 

            2. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป 

            3. ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนา เหมือนเปลือกส้ม

            4. มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม 

            5. อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ 

            6. ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด 

ก้อนบริเวณเต้านม..อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป
       เมื่อเราตรวจพบก้อน..ต้องมาดูว่าก้อนที่ว่านี้เป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ ถ้าเป็นถุงน้ำแสดงว่าไม่ใช่มะเร็ง..หรือที่เราเรียกกันว่า “ซีสต์” โดยปกติซีสต์จะขยายใหญ่ขึ้นตามฮอร์โมน ซึ่งช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้น..จึงเป็นไปได้ว่าถุงน้ำจะมีขนาดโตขึ้นด้วย

คุณแม่ตั้งครรภ์..สามารถตรวจแมมโมแกรมได้หรือไม่?
      กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์พบว่ามีก้อนหรือเจ็บบริเวณเต้านมแล้วสงสัยว่าเป็นมะเร็ง การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมจะ “ไม่สามารถทำได้” เนื่องจากว่ามีรังสี เพราะฉะนั้นก่อนทำแมมโมแกรม ถ้าคนไข้มีการขาดประจำเดือนติดต่อกันหลายเดือน แพทย์ต้องทำการตรวจเช็คก่อนว่าท้องหรือไม่ ถ้าท้องจะไม่สามารถทำได้…ต้องใช้การอัลตร้าซาวนด์เท่านั้น

อ้างอิง : https://www.phyathai.com/

อ้างอิง : https://www.paolohospital.com/

อ้างอิง :  https://www.samitivejhospitals.com/th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้