เบิกค่าคลอดบุตร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
คนท้อง มีสิทธิเบิกประกันสังคม อะไรได้บ้าง ?
คุณแม่ที่ส่งเงินประกันสังคม เมื่อตั้งครรภ์จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาได้ โดยแบ่งเป็น 5 รายการ คือ
- เบิกค่าฝากครรภ์ : วงเงินรวม 1,500 บาท
- เบิกค่าคลอดบุตร : เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง
- เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร : เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน)
- เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร : ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์
- เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร : เบิกได้ 800 บาท ต่อเดือน (ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี)
เบิกค่าคลอดบุตร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- สปส. 2-01 แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน โดยคุณพ่อหรือคุณแม่ผู้ประกันตนจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
- บัตรประชาชนตัวจริง
- เตรียมสำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด
- ในกรณีคลอดบุตรแฝด ให้คุณแม่แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดไปด้วย
หากใช้สิทธิคุณพ่อจะต้องแนบสำเนาทะเบียนสมรสไปด้วย - ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสไปด้วย
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ โดยมีธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วม ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต (เป็นการรวมตัวกันของธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต)
ช่องทางการรับเงิน ?
- รับเงินสด ด้วยตัวเอง
- มอบอำนาจให้ตัวเเทนเข้ามารับได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
- โอนเข้าบัญชีธนาคาร
อ้างอิง : https://raknareeclinic.com/social-security/
อ้างอิง : https://mamaschoice.co.th/article/