30 พ.ย. 2566
การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กมีความเป็นอย่างมาก เพราะเด็กมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุได้ง่าย จากการชอบกินของหวาน ขนมต่างๆ หากดูแลฟันไม่ดีพอก็จะทำให้เกิดปัญหาฟันผุตามมาได้ ผู้ปกครองควรพาเด็กๆ พบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กสุขภาพฟันและช่องปาก และรับการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
28 พ.ย. 2566
ลูกไม่กินข้าวหรือลูกกินยาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจ และน่ากังวลสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน เพราะกลัวลูกจะตัวเล็กกว่าเพื่อน ไม่แข็งแรงหรือเจริญเติบโตตามวัย เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารบางอย่างและอาจส่งผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและสมอง เรามาดูกันว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกกินยากกัน?
27 พ.ย. 2566
น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ถูกขับออกหลังคลอดประกอบด้วยเลือด เนื้อเยื่อที่หลั่งออกจากเยื่อบุโพรงมดลูกและแบคทีเรีย ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีปริมาณมาก มีสีแดงสดเนื่องจากมีเลือดผสมอยู่มากและมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ ไหลออกมาทางช่องคลอด หลังจากผ่านไปประมาณ 10 วัน แผลบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกจะค่อย ๆ ลดขนาดลง น้ำคาวปลาและเลือดก็จะค่อย ๆ ลดปริมาณลงและอาจเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีน้ำตาล สีครีมหรือสีเหลือง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ น้ำคาวปลาก็จะหมดไป
25 พ.ย. 2566
เมื่อใกล้ถึงวันที่เจ้าตัวน้อยลืมตาออกมาดูโลก คุณแม่มักกังวลใจว่าจะคลอดเมื่อไร เจ้าตัวเล็กจะลืมตาออกมาดูโลกใบนี้อย่างราบรื่นหรือไม่ การสังเกต 4 สัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดเต็มทีจะช่วยให้พาคุณแม่มาส่งโรงพยาบาลได้รวดเร็วที่สุด
21 พ.ย. 2566
เนื่องจากในครรภ์และนอกครรภ์นั้นมีสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่ต่างกันมาก การมีผ้าห่อตัวทารกถึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เรียกว่าแทบจะเป็นไอเทมที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
16 พ.ย. 2566
คุณแม่บางท่านอาจมีการคลอดน้องก่อนถึงกำหนดคลอด บางทีอาจเกิดจากสุขภาพของตัวคุณแม่เองหรือสิ่งเร้าอื่นๆที่มากระทบทำให้กำหนดคลอดลูกตัวน้อยมาถึงเร็วกว่าที่คิด โดยจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดและหากคลอดแล้วควรดูแลลูกตัวน้อยยังไงกัน
13 พ.ย. 2566
การใช้เครื่องปั๊มนมเป็นตัวช่วยในการให้นมลูก เนื่องจากเป็นวิธีที่ผู้อื่นสามารถป้อนนมแทนได้ ทำให้คุณแม่มีเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือพักผ่อนจากการให้นม ทั้งยังช่วยเปิดโอกาสให้คุณพ่อได้ใกล้ชิดกับลูกยิ่งขึ้นเมื่อต้องให้นมแทนแม่ นอกจากนี้การปั๊มนมยังมีข้อดีอีกหลายประการ ไปดูกันเลยค่ะ
11 พ.ย. 2566
โรคทางพันธุกรรม คือโรคที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก ซึ่งมีหลากหลายโรคด้วยกัน โดยหลักๆที่พบกันบ่อยก็คือโรคดังต่อไปนี้
10 พ.ย. 2566
หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือเคยนำเอาดอกอัญชันมาบดแล้วเขียนคิ้วให้ทารก ซึ่งมีความเชื่อว่าถ้าเขียนยังไงจะทำให้ขนคิ้วเกิดตามลักษณะที่ แต่ในความเป็นจริงนั้น อัญชันทำให้คิ้วเกิดจริงไหม
7 พ.ย. 2566
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการเลือกรองเท้าก็ส่งผลกับเท้าของเด็กเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโต ดังนั้นคุณแม่ๆควรใส่ใจกับการเลือกรองเท้าให้ลูกๆกันนะคะ
4 พ.ย. 2566
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "แพ้ท้องแทนเมีย" หรืออาการที่คุณพ่อแพ้ท้องแทนคุณแม่ขณะที่ตั้งครรภ์ แต่จริงๆแล้วอาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์กันว่าอย่างไร ไปดูกันค่ะ
3 พ.ย. 2566
เด็กในวัยเดียวกัน แต่ก็มีคนที่พูดเก่งแล้วและยังมีคนที่พึ่งหัดพูด การพูดช้าเร็วของเด็กมีสาเหตุอะไรบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าการพูดช้าของลูกไม่ได้ผิดปกติ ไปดูกันเลยค่ะ
31 ต.ค. 2566
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ 1-3 เดือน ถือว่ายังเป็นการตั้งท้องอ่อนๆ จึงมีข้อควรระวังและข้อห้ามที่ไม่ควรทำ เพื่อสุขภาพของลูกและตัวของคุณแม่เอง ซึ่งหากเราไม่รู้และเผลอทำสิ่งนั้นไปอาจทำให้เสียใจทีหลังได้ โดยจะมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
25 ต.ค. 2566
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า "ภาวะครรภ์เสี่ยง" ในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กันบ่อยๆ แต่จริงๆแล้วอาการนี้มีลักษณะอย่างไร และเกิดจากอะไร วันนี้เราจะมารู้ไปพร้อมๆกันค่ะ
24 ต.ค. 2566
ปัญหาลูกงอแงเป็นปัญหาปกติที่พ่อแม่หลายคนพบเจอ แต่จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน หรือครู ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง ก็จะส่งผลไปถึงตอนโต
23 ต.ค. 2566
การที่น้ำนมของคุณแม่น้อยลงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันว่าควรกินอะไรบ้างเพื่อช่วยสนับสนุนการผลิตน้ำนมให้คุณแม่เพื่อให้คุณลูกได้กินอิ่มกันค่ะ
20 ต.ค. 2566
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Maternity Blue) เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า เสียใจ หดหู่โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่ง 1 ใน 6 ของคุณแม่หลังคลอด มักต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า
18 ต.ค. 2566
ลูกน้อยวัย 6 เดือนแรก ท่านอนของลูกน้อย ในวัยนี้สำคัญมาก เพราะการให้ลูกนอนได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละช่วงจึงสำคัญ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยอย่างใกล้ชิด แรกเกิดถึง 3 เดือน นอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ ขณะที่การนอนคว่ำเสี่ยงกับโรค SIDS 4-6 เดือน เหมาะกับการนอนคว่ำ ด้วยกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ลูกสามารถชันคอและยกศีรษะได้ แต่ควรมีที่นอนและหมอนที่ไม่นุ่มนิ่มจนเกินไป เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ 6 เดือนขึ้นไป กล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงแล้ว แถมยังสามารถพลิกตัวได้ด้วยค่ะ เหมาะกับท่านอนหลายแบบ อาจจะเป็นการนอนตะแคง นอนหงาย กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือนอนคว่ำก็ได้ท่านอนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามแบบนี้ จึงควรจัดท่าให้เหมาะกับวัยลูก ที่สำคัญ ควรเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดสะอ้าน อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัยกับลูก
12 ต.ค. 2566
ท้องลม เกิดจาก สาเหตุของการเกิดภาวะท้องลมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าส่วนใหญ่ประมาณ 45 – 50% เกิดจากตัวอ่อนมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้ไม่สามารถเจริญต่อเป็นทารกได้ตามปกติ และสลายตัวไป คงเหลือแต่ถุงการตั้งครรภ์
6 ต.ค. 2566
คุณแม่อย่างเราจะโดนคนรุ่นคุณตาคุณยายบอกว่าของเล่นเป็นของฟุ่มเฟือย แต่ทุกวันนี้ของเล่นช่วยเสริมความฉลาดและ พัฒนาการด้านต่างๆ มีให้เลือกมากมาย และเห็นผลชัดเจนว่าลูกของเรากล้าคิด กล้าทำ ภูมิใจในตัวเอง ของเล่นมีประโยชน์ขนาดนี้ บางทีคุณแม่อาจจะไม่ต้องซื้อ ปรับจากของใกล้ตัวที่มีในบ้านมาเล่น ลูกก็สนุกได้เหมือนกัน
2 ต.ค. 2566
ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านมให้ดี ด้วยการคลำเต้านมของตนเอง และหากคลำพบก้อนในเต้านม ขออย่าเพิ่งตกใจหรือวิตกกังวลไปไกล เพราะปกติแล้วในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่นั้นสามารถเกิดก้อนที่เต้านมขึ้นได้โดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ยังควรหมั่นสังเกตความผิดปกติและอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจจนเกินไป หากคลำพบก้อนหรือมีความสงสัย เราขอแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ประจำตัว หรือตรวจกับศัลยแพทย์ หรือแพทย์ด้านเต้านม เพื่อให้แน่ใจว่า ก้อนที่คลำพบนั้นไม่ใช่มะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
30 ก.ย. 2566
การแจ้งเกิดลูก ถือเป็นการนำเข้าข้อมูลสู่ทะเบียนราษฏรตามกฎหมาย และสูติบัตรถือเป็นเอกสารทางราชการเพื่อใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคล ตลอดจนการดำเนินเรื่องขอสิทธิ์ หรือรับสิทธิต่าง ๆ การแจ้งเกิดจึงเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำเพื่อให้ลูกได้รับการยืนยันตัวตนตามกฎหมาย และสามารถรับสิทธิต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง
29 ก.ย. 2566
10 วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ กระตุ้นพัฒนาการ ทารกในครรภ์ นับตั้งแต่กระบวนการปฏิสนธิโดยสมบูรณ์ ไข่ผสมกับสเปิร์มและสร้างเป็นตัวอ่อน สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ภายในท้องของคุณแม่ก็เริ่มพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และสร้างระบบอวัยวะต่างมากมายรวมทั้งเซลล์สมองที่มีการเพิ่มทั้งจำนวนและขนาด เกิดเป็นเนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสมองและเชื่อมโยงกันเองเกิดเป็นข่ายใยเส้นประสาทอย่างมากและรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนั้นช่วงทองที่คุณแม่จะกระตุ้นพัฒนาการของสมองลูกน้อยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอด 9 เดือนกันเลย
26 ก.ย. 2566
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเริ่มเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรล่วงหน้าสัก 2 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด หรือควรออกไปซื้อของใช้จำเป็นล่วงหน้าสัก 6-7 เดือน เพื่อที่คุณแม่จะสามารถออกไปซื้อสินค้าได้ เพราะเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอดคุณแม่อาจจะไม่สะดวกที่จะออกไปหา โดยของที่คุณแม่ควรเตรียมพร้อมนั้นมีหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับลูกน้อยหลังคลอด และรวมถึงเอกสารสำคัญต่าง ๆ มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละอย่างที่ควรต้องเตรียมแพ็กใส่กระเป๋าพร้อมยกไปโรงพยาบาลด้วยนั้น ควรจะต้องมีอะไรบ้าง
22 ก.ย. 2566
คุณพ่อคุณแม่คงทราบข่าวสารกันดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ระบุว่า คนโดยสารที่เป็น “เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร” ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท
21 ก.ย. 2566
ตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องบินได้หรือไหม โดยปกติสตรีตั้งครรภ์สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ตลอดจนอายุครรภ์ประมาณ 26 - 27 สัปดาห์ หากคุณแม่มีอายุครรภ์ในช่วง 28 - 36 สัปดาห์ จะต้องมีใบรับรองแพทย์ติดตัวไปด้วย และหลังจากอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ไปไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบิน เพราะมีความเสี่ยง อาจเพิ่มโอกาสกระตุ้นให้เกิดการคลอด
19 ก.ย. 2566
ประมาณการณ์ของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักลูกเท่าไหร่ และน้ำหนักแม่เท่าไหร่ ทั้งนี้น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนแตกต่างกันตามดัชนีมวลกายก่อนที่จะตั้งครรภ์
16 ก.ย. 2566
เรื่องกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คือกลัวลูกไม่สบาย ติดเชื้อ และโรคยอดฮิตอย่างภูมิแพ้ นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่เจริญเต็มที่ และข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ก็คือ 70%ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ที่ลำไส้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีป้องกันไม่ให้ลูกป่วยคือการสร้างสมดุลให้กับจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหารให้ทำหน้าที่ปกป้องลูกจากเชื้อโรค และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเริ่มสร้างได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรรภ์ และสามารถเสริมสร้างอย่างต่อเนื่องหลังคลอด เป็นวิธีการง่ายๆ แต่สำคัญ และสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน