วิธีเก็บน้ำนมแม่
ควรเก็บน้ำนมใส่ขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนม เขียนวันที่ เวลาที่ปั๊มนมไว้ และควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ให้ทารก ในกรณีที่ต้องนำน้ำนมมาให้ทารกที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ควรเขียนชื่อ-สกุลของทารก วันที่ เวลา ปริมาณน้ำนม ติดที่ขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนมให้ชัดเจน การเก็บน้ำนมในแต่ละครั้งต้องแยกขวดหรือถุงเก็บน้ำนม วิธีการนำน้ำนมออกจากเต้านมอาจใช้วิธีบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือหรือการใช้เครื่องปั๊มนม ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
เตรียมขวดนมที่สะอาดปราศจากเชื้อ ถุงเก็บน้ำนมแม่ หามุมสงบนั่งให้สบายผ่อนคลาย จะช่วยทำให้การหลั่งของน้ำนมดีขึ้น จัดเรียงลำดับการบีบเก็บน้ำนมก่อนหลัง เพื่อสะดวกในการนำมาใช้
ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมแม่
การน้ำนมแช่เเข็งมาใช้
เมื่อต้องการนำนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำลงมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน (12 ชั่วโมง) และสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งอีก น้ำนมที่เหลือจากการป้อนลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมง ในกรณีต้องการอุ่นนมแม่ ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟหรือใช้น้ำร้อนจัด แต่ควรแช่ในน้ำอุ่นเพื่อไม่ให้คุณค่าของน้ำนมเสียไป
นมที่สต็อกเหม็นหืนหลังละลาย สามารถให้ลูกได้ไหม ?
ในน้ำนมแม่ มีเอมไซม์ไลเปส (Lipase) ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นอนุภาคเล็ก และผสมเข้ากับโปรตีนได้ดี โดยปริมาณไลเปสในน้ำนมของคุณแม่แต่ละคนมีปริมาณที่แตกต่างกัน ถ้ามีปริมาณมาก จะย่อยไขมันมากเป็นผลให้น้ำนมที่เก็บมีกลิ่นเหม็นหืน อย่างไรก็ตามน้ำนมเหล่านี้แม้มีกลิ่นเหม็นหืนแต่ปลอดภัย และสามารถให้กับทารกได้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
ในทารกบางคนจะปฏิเสธนมที่มีกลิ่นเหม็นหืน อาจแก้โดยการให้นำมาผสมกับนมใหม่ที่ปั๊มเพื่อลดความเหม็นหืน โดยค่อยๆเพิ่มสัดส่วนของนมสต๊อกต่อนมใหม่เพื่อให้ทารกค่อยๆคุ้นชิน ไม่ควรนำนมมาอุ่นก่อนให้ทารกเนื่องจากจะยิ่งมีกลื่นเหม็นหืน
อ้างอิง : https://vichaivej-omnoi.com/health-info/
อ้างอิง : https://www.bumrungrad.com/th/
6 มิ.ย. 2567
6 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567